ความพึงพอใจในภาพรวมเกี่ยวกับบทความเรื่อง Kaizen

วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2554

บทนำ

Kaizen  คืออะไร กิจกรรมคืออะไรและบทบาทเพื่อความสำเร็จ
               Kaizen เป็นภาษาญี่ปุ่น เขียนว่า 改善 แปลว่า "improvement" หรือการพัฒนา ถือเป็นหลักปรัชญาหรือการปฏิบัติเพื่อการพัฒนาอย่างต่อในการกิจกรรมการผลิต, ธุรกิจ หรือแม้แต่ในเรื่องของการใช้ชีวิต ขึ้นอยู่กับการตีความและการนำไปใช้ เมื่อใช้ในทางธุรกิจและประยุกต์ใช้ในที่ทำงาน ไคเซ็นจะอ้างไปถึงกิจกรรมที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องในทุก ๆ หน้าที่ของธุรกิจ, จากการผลิตไปสู่การจัดการและจากการจัดการไปสู่การผลิตจนถึงคนงานด้วยการพัฒนาอย่างมีมาตรฐานและกระบวนการ หลักการของไคเซ็นคือต้องการลดความสูญเสียเช่นเดียวกับ http://en.wikipedia.org/wiki/Lean_manufacturing"Lean manufacturing" ไคเซ็นถูกใช้ครั้งแรกในหลาย ๆ ธุรกิจที่ญี่ปุ่นในระหว่างการกอบกู้บ้านเมืองหลักสงครามโลกครั้งที่สองและขยายออกไปไกลทั่วโลกในขณะนี้
                คำว่า "kaizen" ในภาษาญี่ปุ่นหมายถึง "การพัฒนา" ก่อนหน้านี้ไม่มีคำว่า "continuous" หรือ หลักปรัชญาญี่ปุ่น(Japanese philosophy) แต่ประการใด คำนี้จะอ้างถึงการพัฒนาใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นครั้งเดียวหรืออย่างต่อเนื่อง ใหญ่หรือเล็ก ดังที่ภาษาอังกฤษมีอยู่ว่า "improvment" อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกันในญี่ปุ่นไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาทางอุตสาหกรรมหรือธุรกิจก็ให้ใช้คำเดียวกันว่า "kaizen"(โดยไม่ต้องระบุคำภาษาญี่ปุ่นที่มีความหมายว่า "การพัฒนาอย่าต่อเนื่อง" หรือ ปรัชญาเพื่อการพัฒนา) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของ "oft-emulated practices spearheaded by Toyota" คำว่าไคเซ็นในภาษาอังกฤษนำไปประยุกต์ใช้สำหรับวัดผลการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง หรือแม้แต่นำความหมาย"ปรัชญาคนญี่ปุ่น"มาใช้
               ไคเซ็นเป็นกิจกรรมประจำวัน วัตถุประสงค์ของอะไรก็ตามที่ต้องการก้าวไปข้างหน้าและค่อย ๆ พัฒนาผลผลิตอย่างง่าย ๆ ซึ่งรวมไปถึงกระบวนการที่ต้องการความถูกต้องในการทำงานไม่ว่าจะเป็นเรื่องของคน หรือการลดการทำงานที่มากจนเกินไป(muri) และสอนให้คนรู้ว่าควรจะทดลองเกี่ยวกับงานของเขาอย่างไรให้ถูกหลักการทางวิทยาศาสตร์ และจุดของเรียนรู้เป็นอย่างไร อีกทั้งยังรวมไปถึงการลดการสูญเสียในกระบวนการทางธุรกิจปรัชญานี้สามารถกำหนดคนในทุกระดับขององค์กรสามารถใช้หลักการของไคเซ็นไปปฏิบัติได้ ตั้งแต่ CEO จนไปถึงผู้ถือหุ้นก็ยังใช้ได้ รูปแบบของไคเซ็นจะเป็นแบบส่วนตัว, ระบบข้อเสนอแนะ, กลุ่มเล็ก ๆ หรือใหญ่ สำหรับบริษัท Toyota จะเป็นการนำไปใช้ในพื้นที่การทำงานในแต่ละส่วนเพื่อการพัฒนางานในพื้นที่นั้นๆโดยการแนะนำและติดตามการหัวหน้างานอยู่เสมอ
              ขณะที่ไคเซ็น(ที่โตโยต้า) มีการพัฒนาเล็ก ๆ อยู่เสมอ วัฒนะธรรมของการพัฒนาเล็ก ๆ นั้นก็ประสานกันอย่างต่อเนื่องและมีมาตราฐานที่ให้ผลลัพธ์ที่มากมายให้กับองค์กร ปรัชญานี้แตกต่างจากคำว่า "command-and-control" ที่เกิดขึ้นประมาณกลางศตวรรษที่ 20 การวางแผนในระดับใหญ่และตารางโครงการที่โอ่อ่าถูกแทนที่ด้วยการทำงานด้วยกลุ่มเล็ก ๆ ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนให้เกิดการพัฒนาใหม่ๆขึ้นมาได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น